บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันนี้อาจารย์เริ่มพูดถึงเรื่องบล็อกว่าควรเพิ่มเติม
- ทักษะทางปัญญา
- ความสามารถระหว่างบุคคล
เพื่อที่เราจะสามารถนำความรู้ในแต่ละวันไปประยุกต์ใช้ได้
แล้วอาจารย์ก็สอนร้องเพลง เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ในการสื่อความหมายตามวัตถุประสงค์แต่ละเรื่องที่เราต้องการสอน
เพลง นับนิ้ว
- ทักษะทางปัญญา
- ความสามารถระหว่างบุคคล
เพื่อที่เราจะสามารถนำความรู้ในแต่ละวันไปประยุกต์ใช้ได้
แล้วอาจารย์ก็สอนร้องเพลง เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ในการสื่อความหมายตามวัตถุประสงค์แต่ละเรื่องที่เราต้องการสอน
เพลง นับนิ้ว
นี่คือมือของฉัน มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
มือขวาก็มี 5 นิ้ว มือซ้ายก็มี 5 นิ้ว
นับ 12345 นับต่อมา 678910
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ
นับให้ดีนับให้ขึ้นใจ
เพลง เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว
อย่าลำแนวเดินเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน
เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน
เข้าแถวพลันว่องไว
เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง
แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า
แล้วมาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลงซ้ายขวา
ยืนให้ตัวตรง
ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายฉันอยู่ไหน
หันตัวไปทางนั้นแหละ
เพลงพาเหรดตัวเลข
คำร้อง ทำนอง ดร. สุภาพร เทพยสุวรรณ ดร. แพง ชิณวงศ์
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1234556789 แล้วก็
10
ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย
ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมือลงข้างล่าง ซ้ายขวาซ้าย
ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน (
ซ้ำ 2 รอบ )
จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น
โดยมีโจทย์ว่า "ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขา
ดิฉันก็ได้วาดรูปเต่า กิจกรรมนี้สื่อให้เห็นถึงเรื่อง คณิตฯกับศิลปะ
ทำให้เราบอกถึงประสบการณ์ที่เรามี เช่น เรารู้ได้ยังไงว่าสัตว์นั้นๆ มีกี่ขา
ดังนั้น เราก็ต้องนับ
และในตัวของสัตว์มีอะไรบ้างที่สามารถจับคู่กันได้ = ขา หู ตา เป็นต้น
ดังนั้น ประสบการณ์จึงสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับด้านอื่นๆและอาจารย์ก็ได้เข้าเนื้อหาของ "สาระสําคัญทางคณิตศาสตร์"
เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก
ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
และเพื่อให้เข้าใจตรงกันจึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยได้ดังนี้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
1. จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งของต่างๆ
2. จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า.....
เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีล่ะหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด
ในระบบฐานสิบมี 10 ตัว ดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ o ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6.
จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน
มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจากจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
8. การบอกลบำดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน
แล้วจึงจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
10.
การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11.
การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่
แล้วบอกจำนวนที่เหลือ