วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556



                                   บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
                 
                     วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

  วันนี้อาจารย์เริ่มพูดถึงเรื่องบล็อกว่าควรเพิ่มเติม
- ทักษะทางปัญญา
- ความสามารถระหว่างบุคคล
เพื่อที่เราจะสามารถนำความรู้ในแต่ละวันไปประยุกต์ใช้ได้

        แล้วอาจารย์ก็สอนร้องเพลง  เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ในการสื่อความหมายตามวัตถุประสงค์แต่ละเรื่องที่เราต้องการสอน

                                                                          เพลง นับนิ้ว
          นี่คือมือของฉัน   มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
          มือขวาก็มี  5 นิ้ว มือซ้ายก็มี 5 นิ้ว
        นับ 12345 นับต่อมา 678910 
   นับนิ้วนับจงอย่ารีบ นับให้ดีนับให้ขึ้นใจ

                                                                          เพลง เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว     อย่าลำแนวเดินเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน     เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน     เข้าแถวพลันว่องไว

                                                                 เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง     แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า     แล้วมาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

                                                                     เพลงซ้ายขวา
ยืนให้ตัวตรง     ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายฉันอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ

                                                                 เพลงพาเหรดตัวเลข
                   คำร้อง ทำนอง ดร. สุภาพร เทพยสุวรรณ        ดร. แพง ชิณวงศ์
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1234556789  แล้วก็ 10
ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย  ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมือลงข้างล่าง  ซ้ายขวาซ้าย  ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน ( ซ้ำ 2 รอบ )
 จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่น  โดยมีโจทย์ว่า "ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขา
ดิฉันก็ได้วาดรูปเต่า  กิจกรรมนี้สื่อให้เห็นถึงเรื่อง คณิตฯกับศิลปะ ทำให้เราบอกถึงประสบการณ์ที่เรามี เช่น เรารู้ได้ยังไงว่าสัตว์นั้นๆ มีกี่ขา  ดังนั้น เราก็ต้องนับ  และในตัวของสัตว์มีอะไรบ้างที่สามารถจับคู่กันได้ = ขา หู ตา เป็นต้น  ดังนั้น  ประสบการณ์จึงสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับด้านอื่นๆและอาจารย์ก็ได้เข้าเนื้อหาของ    "สาระสําคัญทางคณิตศาสตร์"
เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก  ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกันจึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยได้ดังนี้
                 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

1. จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งของต่างๆ
2. จำนวนนับ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า..... เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีล่ะหนึ่งตามลำดับ
3. ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
4. ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
5. สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด  ในระบบฐานสิบมี  10 ตัว   ดังนี้                 
            ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
             ตัวเลขไทย ได้แก่  o ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
              อ่านว่า  หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
6.  จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
7. การเรียงลำดับจากจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
8. การบอกลบำดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ
9. ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
10. การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
11. การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่ แล้วบอกจำนวนที่เหลือ





                           
                                      บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
                              
                 วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

        วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องเค้า แล้วอาจารย์ก็ถามว่าเค้าเกี่ยวกับคริตศาสตร์อย่างไรบ้าง จากนั้นทุกคนก้ช่วยกันตอบคำถาม เช่น เกี่ยวกับรูปทรง วันเกิด ราคา ขานดเป็นต้น

          จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำสมุดเล่มเล็กแล้วให้เขียนว่าเรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์จากนั้นทุกคนก็มาช่วยระดมความคิดกันว่ามีสาระสำคัญใดบ้าง เช่น การนับเลข เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ รูปทรง การเรียงลำดับ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ เป็นต้น จากกิจกรรมนี้อาจารย์สอนให้รู้ว่า เราควรระดมความคิดของเด็กๆก่อน เพื่อให้เรารู้ทิศทางความรู้ของเด็กแต่ละคน จากนั้นอาจารย์ก็มีเพลงมาให้ร้องก่นเลิกเรียน

                                          เพลงสวัสดียามเช้า

                
              ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า             อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว                                หนูแต่งตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ                                  ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
   
        หลั่นล้า  หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นล้า หลั่นลา

                                   เพลง สวัสดีคุณครู


     สวัสดีคุณครูที่รัก                        หนูจะตั้งใจอ่านเขียน


ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ                หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย

              ขอบขายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในปฐมวัย

1.การนับ  เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก 

 เป็นการนับอย่างมีความหมาย  เช่น  การนับตามลำดับ  ตั้งแต่  1-10 

 หรือมากกว่านั้น

2. ตัวเลข  เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน  
ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรม อาจมีการ

เปรียบเทียบไปด้วย  เช่น มากกว่า  น้อยกว่า

3. การจับคู่  เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้ากัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท  เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆ 

ของสิ่งของว่าแตกต่างกัน หรือเหมือนกันหรือไม่ 

5. การเปรียบเทียบ  เด็กจะต้องการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระ

หว่งของสองสิ่งหรือมากกว่า  รู้จักใช้คำศัพท์  เช่น  ยาวกว่า  สั้นกว่า

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่ง  เช่น จัด

บล็อก 5 แท่ง  ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ

จากสั้นไปยาว

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนจากการเล่นปกติแล้ว  ครู

ต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม  สามเหลี่ยม  

สี่เหลี่ยมจัตุรัส  สี่เหลี่ยมผืนผ้า